วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายชื่อ สมาชิก



รายชื่อสมาชิก

นาย ชัชชาญชณัฐ  จิตรัตน์ เลขที่6


นาย ธนาคม เจริญพิทย์ เลขที่8

นาย ปุณวัทน์ ไพศาล เลขที่9

นาย พรชัย นกวอน เลขที่10

นาย วิชญะ รติธัญกรกุล เลขที่11

นาย วิสสุต บุญช่วย เลขที่12

นาย ศุภณัฐ ศรีนังคะมาลี เลขที่13

นาย อภิภัทร บุญจำรัส เลขที่14

นาย กษิดิ์เดช อยู่ดี เลขที่17

ห้อง 6/1

องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก  ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัตตามกติกาของสังคมโลก    อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม  และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ   ตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน  ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ



 องค์กรและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
    สืบเนื่องจากการทำ การค้าของโลกมักจะมีปัญหายุ่งยากตามมาหลายประการ เมื่อแต่ละประเทศมุ่งแต่จะให้ปะเทศของตนรับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศให้มากที่สุด บางประเทศจะสร้างเงื่อนไขต่าง ๆเพื่อกีดดันการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใน พ.ศ.2491 เป็นต้นมา ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการค้าควรจะมีการสร้างกฎเกณฑ์ โดยกฎเกณฑ์สากลการค้าอย่างแรกที่มีประเทศยอมรับมากที่สุดคือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรการค้า (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ความตกลงแกตต์ ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จนถึงพ.ศ. 2537 และต่อมาพัฒนามาเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ภายใต้การบริหารขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน สำ หรับในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะองค์การการค้าโลกนอกจากนี้จะกล่าวถึงกลุ่มการค้าที่มีการรวมกลุ่มกัน และเป็นกลุ่มการค้าที่มีความสำ คัญต่อเศรษฐกิจไทย อันได้แก่ สหภาพยุโรป อาเซียน และเอเปค
      องค์การค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
    เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเรื่องความตกลงด้าน
การค้าและบริการ และความตกลงทางด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ความตกลงต่าง ๆขององค์การค้าโลก คือ กฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ถ้า้ประเทศใดละเมิดผู้แทนของประเทศผู้เสียหายสามารถนำมาฟ้องร้องต่อที่ประชุมได้
              องค์การค้าโลกมีกลไกลการทำ งานและหน้าที่หลัก ดังนี้
    1) การบริหารจัดการให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงต่าง ๆ กลไกส่วนนี้คือ เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกมีเวทีตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของความตกลงแต่ละฉบับของแระเทศสมาชิกอื่น ไม่ว่าประเทศนั้นจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
    2) กระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก เมื่อประเทศสมาชิกเห็นว่าประเทศอื่นใช้มาตรการการค้าที่ขัดกับความตกลง และทำ ให้การค้าของตนเสียหาย และประจักษ์ว่า เวทีการตรวจสอบไม่มีแรงกดดันพอที่จะทำ ให้ประเทศต้นเหตุปรับมาตรการการค้าให้ถูกต้อง ก็สามารถใช้กระบวนการยุติธรรมยุติข้อพิพาท
   3) การทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก เป็นกลไกการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิกตามความตกลง ซึ่งก็คือ กลไกทบทวนนโยบายการค้า (Trade PolicyReview Mechanism) องค์การการค้าโลกจะกำ หนดให้มีการทบทวนนโยบายของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศล่วงหน้าโดยระบบหมุนเวียน
   4) การจัดเวทีเพื่อให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้า การที่จะทำ ให้ทุกประเทศใช้
นโยบายการค้าที่เปิดตลาดอย่างสมบูรณ์อย่างทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเจรจาและยกเลิกมาตรการการจำกัดการค้าเป็นระยะ ๆ
        สหภาพยุโรป (European Union)
    สหภาพยุโรปก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยมีประเทศที่ก่อตั้งรวม 6 ประเทศ คือ
เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก เยอรมันตะวันตก อิตาลี และฝรั่งเศส ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและยุโรป (European Coal and Steel Community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและการจำ หน่ายถ่านหิน โดยยกเลิกภาษีศุลกากรและวิธีการเกี่ยวกับการขนส่งถ่านหินผ่านด่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: ECC) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ (1) การจัดตั้งตลาดร่วม (common market) เพื่อให้สินค้าธุรกิจบริการเงินทุนและแรงงาน สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก
(2) การกำหนดและยกเลิกภาษีศุลกากรและโควตาระหว่างประเทศสมาชิก และกำหนดให้ใช้พิกัดอัตราภาษีร่วม (common tariff) สำหรับประเทศที่มิใช่ประเทศสมาชิก (3) การกำ หนดนโยบายร่วมกัน(common policies) เรื่องการคลัง การเงิน อัตราแลกเปลี่ยน การเกษตร แรงงานสัมพันธ์โดยมีหน่วยงานสำคัญ คือ สภารัฐมนตรี คณะกรรมาธิการตลาดร่วม สภาเศรษฐกิจและสังคม และศาลสถิตยุติธรรม
   หลังจากการรวบรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ
ตามลำ ดับตั้งแต่เขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วมหรือประชาคมเศรษฐกิจ จนในที่สุดเป็นสหภาพยุโรปนั้น มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิก ทำให้แก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงได้ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานภาพจากประชาคมยุโรปมาเป็นประชาคมยุโรปตามข้อตกลงมาสทิกซ์ (Maastricht) ลงนามใน พ.ศ. 2534 0และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สำหรับประเทศสมาชิกในปัจจุบันมี 15 ประเทศ เป็นสมาชิกก่อตั้งดั้งเดิม 6 ประเทศ และเป็นสมาชิกที่เพิ่มเติมอีก 9 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เดนมาร์ค เข้าร่วมในพ.ศ. 2516 กรีซเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 สเปนและโปรตุเกสเข้าร่วมใน พ.ศ. 2529 และออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าร่วมใน พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายประเทศสมาชิกให้ครอบคลุมถึงก่อนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 6 ประเทศในราว พ.ศ. 2548 อันได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สโลวาเนีย เอสโทเนีย และไซปรัส รวมทั้งยุโรปเหนือและยุโรปกลางในช่วงต่อไป
     สหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European Economic
Union : EEU) สหภาพยุโรปการเงิน (European Monetary Union : EMU)
และสหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union : EPU)ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ใน 15 ประเทศได้ตกลงใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ ECU โดยมีธนาคารกลางแห่งยุโรปดูแลรับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินและECU จะเป็นหน่วยนับในบัญชีทุนสำ รองระหว่างประเทศ และเป็นหน่วยอ้างอิงในตลาดเงินซึ่งประเทศสมาชิกจะใช้ควบคู่กับเงินตราสกุลเดิม และค่อย ๆ ถอนเงินตราสกุลเดิมออกจากระบบ
     เอเปค (Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)
    เอเปคเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก มีสมาชิกก่อตั้ง 12
เขตเศรษฐกิจ คือ มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ต่อมาใน พ.ศ. 2534 จีน ฮ่องกง และไต้หวัน เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2536 เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี เข้าร่วมเป็นสมาชิก ใน พ.ศ. 2537 ซิลี เข้าร่วมเป็นสมาชิก และใน พ.ศ. 2541 เวียตนาม รัสเซีย และเปรูเข้าร่วมเป็นสมาชิก
              หลักการและปรัชญาพื้นฐานของเอเปค ประกอบด้วย
  1) หลักฉันทามติ (Consensus) เป็นหลักที่สมาชิกจะใช้เจรจาเพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกัน จะไม่ใช้หลักเสียงข้างมาก
  2) หลักความสมัครใจ (Voluntarism) ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมแผนงานต่าง ๆ ของเอเปคด้วยความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ
  3) ไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะบังคับ และไม่มีบทลงโทษ
  4) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination) สมาชิกเอเปคจะไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติที่ไม่ใช่สมาชิกเอเปค
  5) หลักความสอดคล้องกับองค์การการค้าโลก (WTO - Consistency) คือ การเปิดการค้าเสรีโดยไม่ขัดกับองค์การค้าโลก
  6) ความเชื่อมั่นในระบบการค้าเสรีและหลักกลไกตลาด
  7) หลักผลประโยชน์ร่วมกัน สมาชิกจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการเงิน ด้านวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น
      เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)
    เขตการค้าเสรีอาเซียนจัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South – east Asian Nations : ASEAN) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และบรูไน และกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ คือ เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เริ่มดำ เนินงานมน พ.ศ. 2536 โดยมีความตกลง 2 ฉบับ มีสาระสังเขปดังนี้
         1) ความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนใช้
เป็นกรอบการดำ เนินการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
           2) ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีที่เท่ากันสำ หรับเขตการค้าเสรีอาเซียนโดยมี
หลักการสำ คัญให้ประเทศสมาชิกลดอัตราภาษีศุลกากรลงตามลับ จนเหลือประมาณร้อยละ 0 – 5 ภายใน 10 ปี

การลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ

    เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น การลงทุนระหว่างประเทศก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันเกิดการลงทุนระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย
    ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การติดต่อสื่อสารในประเทศต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายไปได้ทั่วโลก ยิ่งส่งผลให้การลงทุนระหว่างประเทศไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ประการใดอีกต่อไป ซึ่งจะเห็นว่านับวัน
องค์กรธุรกิจในลักษณะบรรษัทข้ามชาติจะขยายการลงทุนไปทั่วทุกมุมโลก
      
ความหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ
     การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่ประเทศหนึ่งได้เคลื่อนย้ายทุนจากประเทศของตนมาลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศของตน และการลงทุนนี้อาจจะเป็นการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) หรือการลงทุนโดยอ้อม(Indirect Investment or portfolio Investment)
      
การลงทุนโดยตรง
    การลงทุนโดยตรง หมายถึง การเคลื่อนย้ายทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยเจ้าของทุนยังมีอำ นาจในการดูแลกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ การลงทุนในลักษณะนี้คือ การลงทุนในรูปบรรษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศที่เป็นเจ้าของทุนและมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายสาขาอยู่ในหลายประเทศ โดยบรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่จะมีสำ นักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส และกิจการที่บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้าไปลงทุนนั้นมีหลากหลายประเภท เช่น กิจการนํ้ามัน เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ อาหาร และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
    หากพิจารณาบทบาทของบรรษัทข้ามชาติระหว่างประเทศ พบว่าในปัจจุบันการผลิต
โดยบรรษัทข้ามชาติรวมกันมีร้อยละ 25 ของการผลิตทั้งหมดของโลก และหนึ่งในสาขาองการค้าโลกเป็นการค้าระหว่างบรรษัทในเครือเดียวกัน (intrafirm trade)
   สาเหตุที่ทำ ให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอีกประเทศหนึ่งนั้น มีสาเหตุที่มาจากประเทศเจ้าของทุน (Income country) และประเทศผู้รับทุน (host country) เองดังนี้
   1 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศเจ้าของทุน
          1) ต้องการสร้างอำ นาจผูกขาดทางการตลาด เพราะถ้าผู้ผลิตเข้าไปลงทุนใน
ต่างประเทศจะทำ ให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค และสามารถขจัดคู่แข่งรายอื่นออกไป
          2) ต้องการลดต้นทุนการผลิต ทั้งในเรื่องค่าจ้างในประเทศผู้ผลิตมีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง เนื่องจากบทบาทของสหภาพแรงงานที่มีอำนาจการต่อรองสูง ทำให้ผู้ผลิตต้องการโยกย้ายทุนไปผลิตในต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศที่เข้าไปลงทุน และยังประหยัดค่าขนส่งที่จะต้องส่งไปในประเทศผู้รับทุน
   2 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศผู้รับทุน
         1) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น แร่ธาตุ
นํ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ โดยทรัพยากรเหล่านี้ยังไม่ได้ขุดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากประเทศที่เป็นผู้รับทุนยังขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบและเทคโนโลยีอยู่ จำเป็นที่ต้องพึ่งพานักลงทุนจากต่างประเทศ
         2) เป็นแหล่งแรงงานที่มีราคาถูก เนื่องจากประเทศผู้รับทุนจะมีจำ นวนประชากรมาก ทำ
ให้อัตราค่าจ้างค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับประเทศเจ้าของทุน ซึ่งความแตกต่างที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ในประเทศเจ้าของทุนจะคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ในขณะที่ในประเทศผู้รับทุนคิดเป็นรายวัน ซึ่งในบางประเทศอัตราค่าจ้างที่เป็นรายชั่วโมงในประเทศเจ้าของทุนสูงกว่าอัตราค่าจ้างที่เป็นรายวันในประเทศผู้รับทุน
        3) เป็นแหล่งตลาดที่จะระบายสินค้าให้แก่ประเทศเจ้าของทุน โดยเฉพาะในประเทศที่มี
จำ นวนประชากรมาก เช่น ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าไปลงทุนมาก ขณะเดียวกัน ในประเทศจีนเองก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจึงเป็นแรงเสริมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนมากยิ่งขึ้น
        4) นโยบายของประเทศผู้รับทุนมีนโยบายสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระยะเวลาหนึ่ง การลดอากรขาเข้าแก่เครื่องมือ เครื่องจักร การกีดกันสินค้านำ เข้าที่จะแข่งขันกับสินค้าที่ทำการผลิต การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลกำไรกลับคืนประเทศ
        5) การต่อต้านสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ ในบางประเทศจะมีความเป็นชาตินิยมสูง อาจต่อต้านสินค้าที่มาจากต่างประเทศ
    การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน
    การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง การลงทุนในรูปการซื้อขายตราสารทุน ตราสารหนี้ ทั้งในรูปพันธบัตร ตั๋วเงิน ในต่างประเทศ รวมทั้งการกู้เงินจากต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการหรือควบคุมดูแลกิจการนั้น ๆ ผู้ลงทุนในลักษณะนี้มักจะเป็นปัจเจกบุคคล หรืออยู่ในรูปของกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนบำ เหน็จบำนาญ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันและกองทุนรวม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการลง
ทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน คือ ผู้ลงทุนต้องการแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจะมีความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้วย มิใช่คำนึงแต่ด้านผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว
  
 ผลกระทบของการลงทุนระหว่าปงระเทศ
    ในการลงทุนจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือการลงทุนโดยอ้อม สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุน คือ ทำ ให้ประเทศผู้รับทุนที่ขาดแคลนเงินทุนสามารถมีเงินทุนมาลงทุนในต่างประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นถกเถียงกันอยู่ว่าการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะการลงทุนทางตรงจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุนจริงหรือไม่ ดังประเด็นในเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนทางตรง ดังนี้
           1 การจ้างงาน ในทางทฤษฎี เมื่อมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าไผควรจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนชาวต่างชาติมักนิยมใช้เครื่องจักรมากกว่าทำให้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นไม่มาก
           2 การแย่งแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนท้องถิ่น บางครั้งบรรษัทข้ามชาติกู้ยืมเงินบางส่วนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน ทำให้เกิดการแย่งทุนจากนักลงทุนในประเทศ
           3 การแข่งขันกับนักลงทุนในท้องถิ่น บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมักเป็นบริษัทยักษ์ ที่มีทั้งทุนและเทคโนโลยีเหนือกว่านักลงทุนในประเทศ ทำให้บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถแย่งลูกค้าจากนักลงทุนในประเทศไป ดังกรณีห้างสรรพสินค้าข้ามชาติที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย
          4 การถ่ายทอดเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่ประเทศผู้รับทุนคาดหวังคือ เมื่อมีการลงทุนจากต่างประเทศ นักลงทุนเหล่านี้คงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนงานในประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีระดับสูงยังคงใช้แรงงานจากประเทศแม่ แรงงานในท้องถิ่นจะได้รับแต่เพียงเทคโนโลยีขั้นตํ่าเท่านั้นเช่น การคุมเครื่องจักร การใช้เครื่องมือในระดับพื้นฐาน
          5 ปัญหาดุลการค้า และดุลการชำ ระเงิน การลงทุนจากต่างชาติ ประเทศผู้รับทุนต่างคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดุลการค้า หรือการขาดดุลการชำ ระเงินลง เนื่องจากจะลดการนำ เข้าสินค้าจากประเทศแม่ลง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้บรรเทาปัญหาดังกล่าว เพราะเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากกานำ เข้าในรูปสินค้าสำ เร็จรูปมาเป็นวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และสินค้าขั้นกลางแทน
          6 เกิดภาวการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจ หากประเทศเจ้าของทุนถอนทุนออกไปจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ หรือการที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศผู้รับทุนมากอาจจะส่งผลทำ ให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นได้ หากอุปทานของสินค้าไม่เพิ่มขึ้นตาม

การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ
    เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมา ในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้ เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
     อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
    1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
    2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
    3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
    1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
    2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ    คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

อุปทานของเงินตราต่างประเทศ
    คือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เรามีอยู่ และส่วนใหญ่ได้จากการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศซึ่งการที่อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
1. ปริมาณสินค้าและบริการที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
2. ความต้องการของนักธุรกิจต่างประเทศในอันที่จะนำเงินมาลงทุน หรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศ
3. ปริมาณเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ระบบการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
    1. ระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ( Free Exchange Rate ) เป็นระบบที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อย่างเสรีตามสภาพอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยผ่านกลไกของราคาในตลาด โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ระบบนี้จะไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนทางการ จะมีแต่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเพียงอย่างเดียว และระบบนี้จะไม่มีกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ( Exchange Stabilization Fund : ESF ) ทั้งนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการปรับดุลการชำระเงินให้สู่ระดับสมดุลโดยกลไกของราคาตลาด ซึ่งจะดำเนินอยู่ตลอดเวลา
** ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ไม่นิยมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรี เพราะเหตุ 3 ประการ คือ
    1.ทำให้ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีค่าน้อยมาก จะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้มาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
    2. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศขึ้น มักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศในทางที่ทับทวีมากขึ้น
    3. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ ก่อให้เกิดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ อันเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนยิ่งห่างไกลจากความสมดุลมากขึ้นแทนที่จะปรับตัวได้
**ภายในระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ค่าแห่งเงินตราของประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศจะเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นประจำ ซึ่งมีผลเสียต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงขึ้นได้โดยง่าย
    2. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดให้คงที่ ( Fixed Exchange Rate ) ระบบนี้อาจจำแนกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
    2.1 ระบบมาตรฐานทองคำ ( Gold Standard ) เป็นระบบที่กำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำตามน้ำหนักและความบริสุทธิ์ที่กำหนดไว้โดยเงินตราของประเทศนั้น
** Mint Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนในระบบมาตรฐานทองคำที่ได้มาจากการเทียบค่าเงินโดยผ่านน้ำหนักของทองคำ
** อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ จะอยู่ระหว่างจุดทองคำไหลออก ( Gold Export Point ) และจุดทองคำไหลเข้า ( Gold Import Point ) โดยจุดทองคำจะถูกกำหนดขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งทองคำเข้า – ออก และอัตราแลกเปลี่ยนทางการ
ตัวอย่างที่ 1 ค่าขนส่งทองคำจากสหรัฐฯ ไปอังกฤษ หรืออังกฤษไปสหรัฐฯ เท่ากับ 0.02 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนทางการ 1 ปอนด์ = 2.40 ดอลลาร์
- จุดทองคำไหลออก คือ 1 ปอนด์ = 2.42 ดอลลาร์ ( 2.40 + 0.02 ดอลลาร์ )
- จุดทองคำไหลเข้า คือ 1 ปอนด์ = 2.38 ดอลลาร์ ( 2.40 – 0.02 ดอลลาร์ )
ตัวอย่างที่ 2 ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทในมาตราทองคำเท่ากับ 10 บาท ต่อ 1 ปอนด์ ต่อทองคำ 10 กรัม และค่าขนส่งทองคำ 1 กรัม ระหว่างไทยและอังกฤษ มีอัตราเท่ากับ 0.2 บาท จุดทองคำไหลออกจะเท่ากับเท่าไร
- จุดทองคำไหลออก = อัตราแลกเปลี่ยนทางการ + ค่าขนส่งทองคำ
= 10 + ( 0.2 X 10 ) = 12 บาท
** จุดทองคำไหลออกมีค่าเท่ากับ 12 บาท ต่อ 1 ปอนด์
** ประเทศที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ เมื่อมีการสั่งสินค้าเข้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องส่งทองคำออกไปชำระค่าสินค้าที่สั่งเข้ามาก ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองที่เป็นทองคำน้อยลง และทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนของประเทศลดลงด้วย เมื่อปริมาณเงินลดลงแล้ว หากปริมาณสินค้าในตลาดมีจำนวนเท่าเดิม จะทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสามารถส่งสินค้าออกไปขายได้มากขึ้น และจะสั่งเข้าน้อยลง เพราะประชาชนจะหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามากขึ้น
** ประเทศใดจะอยู่บนมาตรฐานทองคำได้ จะต้องอยู่ในเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ 
    1. ต้องกำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำที่เรียกว่า “Gold Parity” และมี ทุนสำรองเงินตราเป็นทองคำเพียงอย่างเดียว
    2. ธนาคารกลางจะรับซื้อหรือขายทองคำตามอัตราทางการโดยไม่จำกัดจำนวน
    3. การซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำจะต้องเป็นไปโดยเสรี
** ประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนตั้งอยู่บนมาตรฐานทองคำ อาจประสบปัญหาการขาดแคลนทองคำ และถ้าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนก็จะผันแปรตามไปด้วย ประเทศที่ยึดระบบมาตรฐานทองคำจึงมักประสบปัญหาการขึ้นลงของราคาทองคำอยู่เสมอ จนกระทั่งต้องออกจากมาตรฐานทองคำและหันไปใช้ระบบมาตราปริวรรตทองคำแทน
    2.2 ระบบมาตราปริวรรตทองคำ ( Gold Exchange Standard ) เป็นระบบที่ประเทศต่าง ๆ เคยนิยมใช้ ประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบนี้จะต้องเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF และต้องกำหนดเงินตราของตน 1 หน่วย ให้มีค่าเทียบกับทองคำจำนวนหนึ่ง หรือกำหนดค่าเงินตราของตนเทียบเท่ากับเงินตราสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ เช่น
- 1 ดอลลาร์ เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.736662 กรัม
- 1 บาท เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.038331 กรัม
** ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนโดยผ่านทองคำจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ต่อ 20 บาท เรียกว่า “ค่าเสมอภาค” ( Par Value ) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนทางการที่กำหนดไว้ตายตัวโดย IMF และประเทศสมาชิกจะต้องตั้งกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ( ESF ) ขึ้น เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดให้อยู่ในช่วง Support Point ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้สูงกว่าค่าเสมอภาคได้ไม่เกิน + 2.25 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ 
- Upper Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 + (2.25 X 20) = 20.45 บาท
- Lower Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 – (2.25 X 20) = 19.55 บาท
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีมากกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะสูง
ESF จะต้องขายดอลลาร์ออกไป
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีน้อยกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะต่ำ
ESF จะต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้
** ถ้าเกิดกรณีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการมากเกินไปจน ESF แก้ไขไม่ได้ ประเทศสมาชิกอาจต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาค หรืออาจเพิ่มหรือลดค่าของเงินตรา
** การลดค่าของเงินตรา ( Devaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาล ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมรัฐบาลประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทางการไว้ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมาประกาศลดค่าลดเหลือ 27 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเพิ่มค่าของเงินตรา ( Revaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาลทำให้ต้องใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมารัฐบาลประกาศเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเสื่อมค่าของเงิน ( Depreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาลดลง ทั้งนี้เกิดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราเปลี่ยนแปลงไป
** การเพิ่มค่าของเงิน ( Appreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาสูงขึ้น เช่น เงินดอลลาร์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท แสดงว่า เงินดอลลาร์หนึ่ง ๆ จะแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
    3. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกควบคุม ( Exchange Control ) เป็นระบบที่รัฐบาลใช้อำนาจผูกขาดควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อจำกัดการนำเงินทุนเข้าประเทศหรือการส่งเงินทุนออก
2. เพื่อรักษาค่าภายนอกของเงินตราของประเทศให้มีเสถียรภาพ
3. เพื่อรักษาทุนสำรองเงินตราที่เป็นทองคำของประเทศและทรัพย์สินต่าง
ประเทศไว้
4. เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความมั่นคงของเงินตรา
5. เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศเอาไว้ใช้ในภาระจำเป็น
6. เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศเอาไว้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
หลักทรัพย์ซึ่งพลเมืองในประเทศอื่นถือไว้
** ผลเสียที่สำคัญของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ มักจะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาดุลการค้าแบบทวิภาค ซึ่งนับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของ Comparative Advantage โดยระบบการค้าแบบทวิภาคจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตลดน้อยลง
** ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือแบบลอยตัว ( Floating Exchange Rate ) อย่างมีการจัดการ กล่าวคือ สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้บ้างตามความเหมาะสม ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดต่ำลงจากเดิมอย่างมาก

ค้าระหว่างประเทศ

ค้าระหว่างประเทศ 

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ 
     
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ


 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
    ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม


สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
    1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย

    2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต  ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ

    3. ปริมาณการผลิต  การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
    4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
     เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ


นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

    นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น นโยบายแบบเสรี และ นโยบายแบบคุ้มกัน

นโยบายการค้าแบบเสรี
    เป็นนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำสินค้ามาทำการค้าขายระหว่างกันอย่าง เสรี โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ประเทศที่จะถือนโยบายการค้าโดยเสรีจะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
    1. ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน คือ ทุกประเภทจะต้องเลือกผลิตเฉพาะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
    2. ต้องไม่มีการเก็บภาษี หรือมีการเก็บภาษีแต่น้อย โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบ
    3. ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษและไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ หากถือตามเงื่อนไขนี้แล้วในปัจจุบันไม่มีประเทศใดที่จะมีนโยบายการค้าโดยเสรีได้ อย่างเป็นทางการเพราะนโยบายลักษณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเสียเปรียบประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก แต่บาง ประเทศมีการตกลงร่วมกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
    เป็นนโยบายที่มุ่งสนับสนุนภาพการผลิตในประเทศ มีหลักการตรงกันข้ามกับนโยบาย การค้าโดยเสรี คือรัฐบาลจะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออก
วัตถุประสงค์ของนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน พอสรุปได้ดังนี้
    1. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจจะไม่ มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้ามาตามปกติได้ ในยามปกติจึงควรเตรียม การผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้
    2. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้ารัฐบาล ไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมภายในจะต้องเลิกล้มกิจการ
    3. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด การทุ่มตลาด ได้แก่ การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่น ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อทำลายคู่แข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเมื่อทุ่มตลาดสำเร็จได้ครองตลาดแห่งนั้นแล้วก็จะเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา
    4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียงเงินตราต่างประเทศออกไป จำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยจำกัดการนำเข้าและส่งออกให้มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน จะมุ่งส่งเสริมการส่งสินค้าออกและกีดกันการนำสินค้าเข้า คือ
    1. การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) จะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีศุลกากรตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่ต้องการจะกีดกันไม่ให้นำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อม
    2. การควบคุมสินค้า อาจเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดหรือกำหนดโควต้า ( Quota ) ให้นำเข้าหรือส่งออก
    3. การให้การอุดหนุน ( Subsidies ) เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิต ลดภาษีบางอย่างให้ เป็นต้น
    4. การทุ่มตลาด ( Dumping ) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายภายในประเทศ และด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งมี 3 กรณี คือ
1.) การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อก หรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้
2.) การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราว และบางครั้งต้องขายต่ำกว่าทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
- แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ
- กำจัดคู่แข่งขันซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิต
- กีดกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่
- ตอบแทนการกระทำของผู้อื่น
3.) การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาว ซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้เนื่องจากการผลิตภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้น และรัฐบาลให้เงินอุดหนุน โดยทั่วไปการส่งสินค้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศมักกระทำเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดคู่แข่ง และเมื่อสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว ก็จะขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยภายหลัง
    5. ข้อตกลงทางการค้า นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อให้สิทธิหรือฐานะทางการค้าเป็นพิเศษแก่ประเทศคู่สัญญา
    6. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงิน และพยายามดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้



ดุลการค้าระหว่างประเทศ 
    ดุลการการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าส่งออกกับมูลค่าสินค้านำเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี 

ประเภทของดุลการค้า 

1. ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่าสินค้านำเข้า 
2. ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า 
3. ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าสินค้านำเข้าเท่ากับมูลค่าสินค้าส่งออก 

ดุลการชำระเงิน 
    ดุลการชำระเงิน หมายถึง บัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศภายในเวลา 1 ปี แบ่งเป็น 3 บัญชี คือ 
1. บัญชีเดินสะพัด< คือ บัญชีที่แสดงรายการรับ - จ่ายเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ได้แก่ 
   - ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าเข้าและมูลค่าสินค้าออก
   - ดุลบริการ คือ รายรับและรายจ่ายจากค่าขนส่ง บริการ ค่าประกันภัย เป็นต้น 
2. บัญชีเงินโอนและบริจาค เป็นบัญชีที่แสดงรายรับและรายจ่ายเกี่ยวกับเงินได้เปล่าของรัฐบาลและเอกชน 
3. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นบัญชีที่แสดงการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ 
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีแสดงยอดสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของประเทศ 

ลักษณะดุลการชำระเงิน 
1. ดุลการชำระเกินดุล หมายถึง รายรับมากกว่ารายจ่าย 
2. ดุลการชำระขาดดุล หมายถึง รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 
3. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง รายรับเท่ากับรายจ่าย 

ความสำคัญของดุลการชำระเงิน และทุนสำรองระหว่างประเทศ 
    1. มีผลต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ คือถ้าดุลการชำระเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ถ้าดุลการชำระขาดดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 
    2. ทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้แก่ ทองคำ เงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้ และทุนสำรอง I.M.F 

การแก้ไขดุลการชำระเงินขาดดุล
1. ลดการนำสินค้าเข้า 
2. ส่งเสริมให้มีสินค้าออกมากที่สุด 
3. ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 
4. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
5. ประชาชนไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 
6. ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 
7. รัฐบาลควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 
8. กู้เงินจากต่างประเทศ



สิทธิของผู้บริโภคและกฏหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค


สิทธิของผู้บริโภคและกฏหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

 ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการขั้นสุดท้ายที่ ซื้อสินค้าเพื่อใช้ส่วนตัว หรือครอบครัว
        ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค สามารถนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด การแก้ปัญหาการตลาด การบริหารการตลาด ดังนั้น จึงได้มีการศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อทราบถึงลักษณะความต้องการและพฤติกรรมที่ได้ จะช่วยให้ นักการตลาดจัดกลยุทธ์การตลาด ที่สามารถสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม
การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นการค้นหาพฤติกรรมการซื้อ หรือการใช้ของผู้บริโภค เพื่อทราบถึงลักษณะความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค คำตอบที่ได้จะช่วยให้นักการตลาด จัดกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเหมาะสม ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง บุคคล หรือใครก็ตามที่กิน หรือใช้สินค้า บริการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการ ของตนเองทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ

สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครอง
1. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
         เป็นสิทธิที่จะเน้นในเรื่องการได้รับความสะอาด ความปลอดภัย จากผลิตภัณฑ์และสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยเป็นปัญหาสำคัญของผู้บริโภค จึงมีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสินค้าและบริการองค์การที่จัดตั้งเพื่อป้องกันสิทธิด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคที่สำคัญมี 2 องค์การคือ
องค์การคุ้มครองผู้บริโภค
องค์การอาหารและยา

2. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการนั้น ๆ

ข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าที่ผู้บริโภคควรได้รับมีดังนี้
        2.1.ราคา หมายถึง ราคาต่อหน่วยของสินค้า ซึ่งราคาผู้บริโภคไม่สามารถรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนดีหรือไม่ดี เพราะสินค้านั้น ๆ จะแตกต่างที่การบรรจุหีบห่อ ปริมาณ ขนาดและมีสินค้าบางชนิดไม่ระบุราคา จึงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบได้ว่าสินค้านั้นดี หรือไม่ และประหยัดที่สุดหรือไม่
        2.2. ป้ายโภชนาการ หมายถึง การให้ข่าวสารข้อมูลของสินค้า ว่าเป็นอะไร บริโภคอย่างไร ใช้อย่างไรเพื่อผู้บริโภคจะได้เข้าใจรายละเอียดโดยปิดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ของสินค้านั้น ๆ
        2.3. รายละเอียดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หมายถึง รายละเอียดเกี่ยวกับอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วย วัน เดือน ปี ที่ผลิต อายุการใช้งาน และวันหมดอายุของ ผลิตภัณฑ์ โดยจะชี้แจงบนหีบห่อของผลิตภัณฑ์
        2.4. ความจริงเกี่ยวกับสินค้าที่ช่วยสนับสนุน หมายถึง สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดได้ชัดเจน เพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้บริโภค ผู้บริโภค จะต้องแยกข้อมูลที่ได้ออกมา และทำความเข้าใจ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
        2.5. รายละเอียดของสินค้า ผู้ผลิตมีการกำหนดจำนวนของรายละเอียดของสินค้านั้น ๆ ให้เหมาะสมโดยผู้บริโภคจะใช้รายละเอียดของสินค้านั้น เปรียบเทียบกับสินค้าอื่น ๆ เพื่อจะสามารถเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุด ได้ประโยชน์มากที่สุด

3. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
        ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
ให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ที่จะใช้ประเมินในตัวสินค้า และบริการที่ต้องใช้เทคโนโลยียุ่งยากซับซ้อน และให้เลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้มีทักษะในการบริหารและการตัดสินใจ ในระดับนี้สามารถเทียบกับการศึกษาที่ให้กับมืออาชีพ
ให้ความรู้เกี่ยวกับองค์การธุรกิจต่าง ๆ รัฐบาล และการให้ความรู้ทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้น
โดยการพิจารณาให้ข่าวสารข้อมูล และความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการ ผู้บริโภคจะนำมาใช้ประเมินให้ตรงกับความต้องการและความถูกต้องเหมาะสมที่จะเลือกซื้อสินค้าได้ต่อไป
4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดใช้ความเสียหาย
        สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับการพิจารณาและชดใช้ความเสียหาย ทำได้ 3 วิธี คือ
การป้องกัน โดยภาครัฐและเอกชนมีการออกกฎหมายพิทักษ์ผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นกลไกในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่ไปด้วย
การเอากลับคืนมา การแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ดีดังเดิม ทำได้หลายวิธี เช่น แก้ไขที่ตัวสินค้า เมื่อเกิดการผิดพลาดภายหลังจากที่สินค้านั้นออกสู่ตลาด โดยการนำเอากลับมาแก้ไข วิธีนี้จะใช้กันมากในการแก้ไขภาพพจน์ของตัวสินค้า
การกำหนดบทลงโทษ กำหนดตัวบทกฎหมาย ใช้เป็นบทลงโทษต่อผู้ผลิต โดยจะมีทั้งการปรับ ทั้งจำคุก

หน้าที่ของผู้บริโภคกับการคุ้มครองผู้บริโภค

1. หน้าที่ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์
        เป็นหน้าที่ของผู้บริโภคจะต้องรับผิดชอบตนเองซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น เพราะก่อนการบริโภคผลิตภัณฑ์ใด ๆ จึงต้องมีการหน้าที่ดังต่อไปนี้                                                                                                                                    
        1.1. การใช้ความระมัดระวังในการซื้อผลิตภัณฑ์ เช่น การตรวจสอบการแสดงฉลาก ปริมาณ และราคาว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ ผู้บริโภคไม่ควรเชื่อข้อความการโฆษณาโดยไม่ได้ทำการพิจารณาอย่าง
รอบคอบ
        1.2. การทำสัญญาโดยการลงลายมือชื่อ หรือผู้บริโภคควรจะตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ว่ารัดกุมและให้สิทธิแก่ผู้บริโภคครบถ้วนตามที่ได้ตกลงกันไว้ และสัญญา เงื่อนไขข้อใดบ้างที่
ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
2. หน้าที่หลังทำสัญญา
        1.1. การเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้เพื่อทำการเรียกร้องกรรมสิทธิ์ของตน ควรจดจำสภาพที่ซื่อผลิตภัณฑ์นั้นไว้เพื่อประกอบการเรียกร้องด้วย
        1.2. ในกรณีที่มีการทำสัญญาแล้ว ต้องเก็บเอกสารสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารภาพโฆษณา และ ใบเสร็จรับเงินไว้ด้วย
        1.3. เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีหน้าที่ดำเนินการร้องเรียนตามสิทธิของตน

สถาบันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

     
        1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่คุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ที่มีปัญหาจากการอุปโภคและบริโภค ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่ได้รับเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องราคา การปลอมปนสินค้า การผูกขาดตลาด การโกงมาตราชั่ง ตวง วัด ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็น จริง เผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคให้ทราบถึงภัยอันตรายที่เกิดจากสินค้าที่เป็นพิษ ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ตลอดจนติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของเพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
        2.1. คณะกรรมการอาหาร มีหน้าที่ กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ควบคุมเฉพาะตามชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารนั้น และกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อการจำหน่าย หรือการจำหน่าย
        2.2. คณะกรรมการยา มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตยา การขายยา การนำเข้าหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร การนำยามาเป็นตัวอย่างเพื่อการตรวจ การตรวจสอบสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา และสถานที่เก็บยา
        2.3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ผลิตในการผลิตสินค้า
        2.4. องค์กรเอกชน ภาคเอกชนมีการจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เช่น องค์กรพิทักษ์ประโยชน์ของผู้บริโภค โครงการสภาสตรีส่งเสริมผู้บริโภค เป็นต้น