วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ

    เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น การลงทุนระหว่างประเทศก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันเกิดการลงทุนระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย
    ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การติดต่อสื่อสารในประเทศต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายไปได้ทั่วโลก ยิ่งส่งผลให้การลงทุนระหว่างประเทศไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ประการใดอีกต่อไป ซึ่งจะเห็นว่านับวัน
องค์กรธุรกิจในลักษณะบรรษัทข้ามชาติจะขยายการลงทุนไปทั่วทุกมุมโลก
      
ความหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ
     การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่ประเทศหนึ่งได้เคลื่อนย้ายทุนจากประเทศของตนมาลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศของตน และการลงทุนนี้อาจจะเป็นการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) หรือการลงทุนโดยอ้อม(Indirect Investment or portfolio Investment)
      
การลงทุนโดยตรง
    การลงทุนโดยตรง หมายถึง การเคลื่อนย้ายทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยเจ้าของทุนยังมีอำ นาจในการดูแลกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ การลงทุนในลักษณะนี้คือ การลงทุนในรูปบรรษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศที่เป็นเจ้าของทุนและมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายสาขาอยู่ในหลายประเทศ โดยบรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่จะมีสำ นักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส และกิจการที่บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้เข้าไปลงทุนนั้นมีหลากหลายประเภท เช่น กิจการนํ้ามัน เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ อาหาร และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
    หากพิจารณาบทบาทของบรรษัทข้ามชาติระหว่างประเทศ พบว่าในปัจจุบันการผลิต
โดยบรรษัทข้ามชาติรวมกันมีร้อยละ 25 ของการผลิตทั้งหมดของโลก และหนึ่งในสาขาองการค้าโลกเป็นการค้าระหว่างบรรษัทในเครือเดียวกัน (intrafirm trade)
   สาเหตุที่ทำ ให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอีกประเทศหนึ่งนั้น มีสาเหตุที่มาจากประเทศเจ้าของทุน (Income country) และประเทศผู้รับทุน (host country) เองดังนี้
   1 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศเจ้าของทุน
          1) ต้องการสร้างอำ นาจผูกขาดทางการตลาด เพราะถ้าผู้ผลิตเข้าไปลงทุนใน
ต่างประเทศจะทำ ให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค และสามารถขจัดคู่แข่งรายอื่นออกไป
          2) ต้องการลดต้นทุนการผลิต ทั้งในเรื่องค่าจ้างในประเทศผู้ผลิตมีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง เนื่องจากบทบาทของสหภาพแรงงานที่มีอำนาจการต่อรองสูง ทำให้ผู้ผลิตต้องการโยกย้ายทุนไปผลิตในต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศที่เข้าไปลงทุน และยังประหยัดค่าขนส่งที่จะต้องส่งไปในประเทศผู้รับทุน
   2 ปัจจัยที่เกิดจากประเทศผู้รับทุน
         1) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบที่จูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น แร่ธาตุ
นํ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ โดยทรัพยากรเหล่านี้ยังไม่ได้ขุดมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากประเทศที่เป็นผู้รับทุนยังขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบและเทคโนโลยีอยู่ จำเป็นที่ต้องพึ่งพานักลงทุนจากต่างประเทศ
         2) เป็นแหล่งแรงงานที่มีราคาถูก เนื่องจากประเทศผู้รับทุนจะมีจำ นวนประชากรมาก ทำ
ให้อัตราค่าจ้างค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับประเทศเจ้าของทุน ซึ่งความแตกต่างที่เห็นอย่างชัดเจน คือ ในประเทศเจ้าของทุนจะคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ในขณะที่ในประเทศผู้รับทุนคิดเป็นรายวัน ซึ่งในบางประเทศอัตราค่าจ้างที่เป็นรายชั่วโมงในประเทศเจ้าของทุนสูงกว่าอัตราค่าจ้างที่เป็นรายวันในประเทศผู้รับทุน
        3) เป็นแหล่งตลาดที่จะระบายสินค้าให้แก่ประเทศเจ้าของทุน โดยเฉพาะในประเทศที่มี
จำ นวนประชากรมาก เช่น ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้าไปลงทุนมาก ขณะเดียวกัน ในประเทศจีนเองก็มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจึงเป็นแรงเสริมให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนมากยิ่งขึ้น
        4) นโยบายของประเทศผู้รับทุนมีนโยบายสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในระยะเวลาหนึ่ง การลดอากรขาเข้าแก่เครื่องมือ เครื่องจักร การกีดกันสินค้านำ เข้าที่จะแข่งขันกับสินค้าที่ทำการผลิต การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการนำผลกำไรกลับคืนประเทศ
        5) การต่อต้านสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ ในบางประเทศจะมีความเป็นชาตินิยมสูง อาจต่อต้านสินค้าที่มาจากต่างประเทศ
    การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน
    การลงทุนโดยอ้อม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง การลงทุนในรูปการซื้อขายตราสารทุน ตราสารหนี้ ทั้งในรูปพันธบัตร ตั๋วเงิน ในต่างประเทศ รวมทั้งการกู้เงินจากต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการหรือควบคุมดูแลกิจการนั้น ๆ ผู้ลงทุนในลักษณะนี้มักจะเป็นปัจเจกบุคคล หรืออยู่ในรูปของกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนบำ เหน็จบำนาญ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันและกองทุนรวม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการลง
ทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน คือ ผู้ลงทุนต้องการแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจะมีความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้วย มิใช่คำนึงแต่ด้านผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว
  
 ผลกระทบของการลงทุนระหว่าปงระเทศ
    ในการลงทุนจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรง หรือการลงทุนโดยอ้อม สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุน คือ ทำ ให้ประเทศผู้รับทุนที่ขาดแคลนเงินทุนสามารถมีเงินทุนมาลงทุนในต่างประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นถกเถียงกันอยู่ว่าการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะการลงทุนทางตรงจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศผู้รับทุนจริงหรือไม่ ดังประเด็นในเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนทางตรง ดังนี้
           1 การจ้างงาน ในทางทฤษฎี เมื่อมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าไผควรจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนชาวต่างชาติมักนิยมใช้เครื่องจักรมากกว่าทำให้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นไม่มาก
           2 การแย่งแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนท้องถิ่น บางครั้งบรรษัทข้ามชาติกู้ยืมเงินบางส่วนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน ทำให้เกิดการแย่งทุนจากนักลงทุนในประเทศ
           3 การแข่งขันกับนักลงทุนในท้องถิ่น บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมักเป็นบริษัทยักษ์ ที่มีทั้งทุนและเทคโนโลยีเหนือกว่านักลงทุนในประเทศ ทำให้บริษัทต่างชาติเหล่านี้สามารถแย่งลูกค้าจากนักลงทุนในประเทศไป ดังกรณีห้างสรรพสินค้าข้ามชาติที่มาตั้งสาขาในประเทศไทย
          4 การถ่ายทอดเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่ประเทศผู้รับทุนคาดหวังคือ เมื่อมีการลงทุนจากต่างประเทศ นักลงทุนเหล่านี้คงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนงานในประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีระดับสูงยังคงใช้แรงงานจากประเทศแม่ แรงงานในท้องถิ่นจะได้รับแต่เพียงเทคโนโลยีขั้นตํ่าเท่านั้นเช่น การคุมเครื่องจักร การใช้เครื่องมือในระดับพื้นฐาน
          5 ปัญหาดุลการค้า และดุลการชำ ระเงิน การลงทุนจากต่างชาติ ประเทศผู้รับทุนต่างคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดุลการค้า หรือการขาดดุลการชำ ระเงินลง เนื่องจากจะลดการนำ เข้าสินค้าจากประเทศแม่ลง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ได้บรรเทาปัญหาดังกล่าว เพราะเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากกานำ เข้าในรูปสินค้าสำ เร็จรูปมาเป็นวัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และสินค้าขั้นกลางแทน
          6 เกิดภาวการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจ หากประเทศเจ้าของทุนถอนทุนออกไปจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ หรือการที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศผู้รับทุนมากอาจจะส่งผลทำ ให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นได้ หากอุปทานของสินค้าไม่เพิ่มขึ้นตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น